DISC เป็นโมเดลที่สะท้อนลักษณะพฤติกรรมของมนุษย์ ที่จำแนกเป็น 4 รูปแบบหลักๆ ที่เรียกย่อๆว่า D, I, S และ C ( D มาจากคำเต็มว่า Dominance, I มาจากคำเต็มว่า Influence, S มาจากคำเต็มว่า Steadiness และ C มาจากคำเต็มว่า Conscientious )
ทุกคนก็จะมีลักษณะที่เป็นส่วนผสมของทั้ง 4 รูปแบบ แต่จะมีในสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน โดยปกติแล้วจะมีรูปแบบที่เด่นออกมา ไม่หนึ่งก็สองลักษณะหลักๆ เราแต่ละคนก็จะมีลักษณะสไตล์ที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้การแบ่งเป็น 4 รูปแบบ ไม่ได้เป็นการบอกว่าแบบใดดีกว่าหรือแย่กว่า ไม่ได้มีรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่ดียอดเยี่ยมที่สุด ในความเป็นจริง แต่ละรูปแบบล้วนมีข้อดีจุดเด่นมากมาย ขณะเดียวกันแต่ละรูปแบบก็อาจจะมีบางลักษณะบางพฤติกรรมที่แสดงออกมาแล้วก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบ ซึ่งก็คือข้อเสียนั่นเอง ความรู้ความเข้าใจในเรื่อง DISC สามารถนำมาช่วยให้เราเข้าใจตัวเราเองเพิ่มมากขึ้น รู้ถึงพฤติกรรมที่เป็นข้อดีข้อเสียของตัวเรา รู้ถึงสิ่งที่เพิ่มหรือลดทอนแรงจูงใจของเรา ผู้ร่วมงานหรือสภาพแวดล้อมแบบไหนที่ทำให้เราเกิดความเครียด รวมไปถึงรูปแบบในการแก้ปัญหา การตัดสินใจกับความท้าทายต่างๆที่ต้องเผชิญ
DISC สามารถเรียกได้ว่าเป็นโมเดลของ “ภาษาพฤติกรรม” ที่เป็นสากล ที่ใช้ได้ทั่วไป ช่วยให้เราเข้าใจผู้คนรอบข้างที่ล้วนแล้วแต่มีความแตกต่างกัน รู้เข้าใจถึงพฤติกรรม การกระทำ การแสดงออกของเขาเหล่านั้น ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถปรับรูปแบบวิธีการของตัวเรา เพื่อให้อยู่ร่วมและทำงานร่วมกับความหลากหลายแตกต่างได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุขมากยิ่งขึ้น
เราสามารถใช้ความรู้เรื่อง DISC ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมในองค์กร ได้หลากหลาย อาทิเช่น
- เพิ่มศักยภาพ พัฒนาประสิทธิภาพของบุคลากร รู้จุดแข็งก็ดึงออกมาใช้ให้มากขึ้น รู้จุดอ่อนก็จะได้ระมัดระวังหลีกเลี่ยงได้ถูกต้อง รวมไปถึงการนำไปแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น
- ลดปัญหาความขัดแย้ง สร้างบรรยากาศการทำงานเป็นทีม เมื่อสมาชิกภายในทีมมีความตระหนักในผลกระทบของความแตกต่าง ก็จะทำให้ไม่คาดหวังและตัดสินผู้อื่นจากมุมมองของตนเองเพียงอย่างเดียว
- เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงาน เป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ที่เป็นหัวหน้าสามารถบริหารลูกน้องที่มีความหลากหลายแตกต่างได้อย่างมืออาชีพ ช่วยให้การประสานงานข้ามสายงานเป็นไปอย่างราบรื่นมากขึ้น
- เพิ่มประสิทธิผลในการขายและการให้บริการ เมื่อเรารู้เข้าใจลักษณะของลูกค้า เราก็จะทราบถึงสิ่งที่เขาชอบหรือไม่ชอบ สิ่งที่ลูกค้าแต่ละรูปแบบให้ความสำคัญ เพื่อปรับรูปแบบวิธีการได้อย่างเหมาะสม ทำให้เราสามารถขายหรือให้บริการได้อย่างตรงใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น
ประวัติของ DISC เริ่มต้นจาก ดร.วิลเลียม มาร์สตัน (William Marston : 1893-1947 เกิดที่ Massachusetts สหรัฐอเมริกา) ผู้ซึ่งจบการศึกษาระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สาขาจิตวิทยา ทางด้านสรีรวิทยา ดร.มาร์สตัน เป็นทั้งนักจิตวิทยา, นักประดิษฐ์, นักทฤษฎีเกี่ยวกับความเสมอภาคของสตรี และยังเป็นนักเขียนการ์ตูนอีกด้วย เขาสนใจศึกษาเรื่องเกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรมของมนุษย์ ประดิษฐ์เครื่องวัดการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต และได้ปรับปรุงพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ จนเป็นต้นแบบของ "เครื่องจับเท็จ" ในปัจจุบัน เป็นผู้สร้างตัวการ์ตูน Wonder Woman ซึ่งเป็น Super Hero หญิง ตัวแรกในวงการการ์ตูนที่เกิดจากแรงบันดาลใจในเรื่องความแตกต่างของพฤติกรรมและคุณลักษณะในแต่ละบุคคล และที่สำคัญก็คือเป็นเจ้าของทฤษฎี DISC ผลงานของ ดร.มาร์สตัน ได้ตีพิมพ์ในหนังสือที่ ชื่อว่า “Emotion of Normal People” ซึ่งได้พูดถึงกระบวนการการทำงานของอารมณ์ความรู้สึกในคนปกติ ที่นำไปสู่ลักษณะพฤติกรรมที่มีความหลากหลายแตกต่างกันไปของมนุษย์ รวมไปถึงกลไกการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมเมื่อเวลาเปลี่ยนไป ผลงานของ ดร.มาร์สตัน จะอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลหรือเหตุการณ์ที่สามารถสังเกตเห็นได้ และสามารถวัดผลให้เป็นรูปธรรมได้ เขาจะเน้นวิธีการอธิบายในเชิงปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น
ทฤษฎีของ ดร.มาร์สตัน ได้แบ่งรูปแบบการแสดงออกทางพฤติกรรมที่สะท้อนจากอารมณ์ภายในของบุคคลปกติทั่วๆไป เป็น 4 รูปแบบหลักๆ โดยมีที่มาจากการรับรู้ (Perception) เชิงเปรียบเทียบระหว่างตนเอง (Self) กับสภาพแวดล้อมภายนอก (Environment) รูปแบบหลักๆทั้ง 4 ถูกให้ชื่อโดย ดร.มาร์สตัน ว่า Dominance, Inducement, Submission, and Compliance (ผู้ที่นำแนวคิดทฤษฎีนี้ไปพัฒนาต่อ ได้มีการปรับชื่อเรียกที่อาจจะแตกต่างกันออกไป)
จากทฤษฎีสู่แบบทดสอบเพื่อนำไปใช้งาน
วอลเตอร์ คล๊าร์ค (Walter Clarke : 1905-1978 เกิดที่ New York สหรัฐอเมริกา) นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมเป็นคนแรกที่สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินบุคลิกลักษณะบุคคล (Personality Profile Test) โดยใช้ทฤษฎี DISC ของ ดร. มาร์สตัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการคัดเลือกบุคลากรเข้าสู่องค์กร 4 รูปแบบพฤติกรรมที่ วอลเตอร์ ใช้เรียกในแบบทดสอบของเขาก็คือ Aggressive, Sociable, Stable และ Avoidant
จากแนวคิดทฤษฎีของ ดร. มาร์สตัน และจุดเริ่มต้นตรงนี้ ก็ได้มีอีกหลายๆผู้พัฒนา ได้ทำการวิจัยพัฒนาต่อยอดจนเป็นแบบทดสอบ DISC ที่เป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างกว้างขวางแพร่หลายในปัจจุบัน
แนวคิด DISC model ได้จำแนกรูปแบบการแสดงออกของมนุษย์เป็น 4 รูปแบบหลักๆ D, I, S และ C โดยที่แต่ละรูปแบบก็จะมีข้อดีข้อเสีย ความคาดหวังแรงจูงใจที่แตกต่างกันไป...
สไตล์ D เป็นคนที่มีลักษณะมุ่งเน้นเป้าหมาย ประสิทธิภาพและความฉับไว มีความมั่นใจ ริเริ่มโครงงานใหม่ๆ ได้ด้วยตนเอง สามารถปรับตัวและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว กล้าที่จะลองใช้แนวทางใหม่ๆ ไม่ยึดติดวิธีการเดิม เป็นนักปฏิบัติจัดการ ดำเนินการ มุ่งผลสำเร็จ สามารถทำงานอย่างเป็นอิสระ
คุณลักษณะทั่วไป
จุดเด่นและคุณค่าต่อองค์กร
สิ่งที่ผู้อื่นอาจมองเชิงลบ
สิ่งที่สร้างแรงจูงใจ
สิ่งที่ลดทอนแรงจูงใจ
สไตล์ I เป็นคนที่มีลักษณะกระตือรือร้น เต็มไปด้วยพลัง และสร้างสรรค์ สร้างสีสัน เข้ากับผู้คนได้หลากหลายประเภท มีความมั่นใจ แสดงออก มนุษยสัมพันธ์ดี สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้เร็ว มองโอกาสใหม่ๆ กล้าที่จะลองใช้แนวทางใหม่ๆ ไม่ยึดติดวิธีการเดิม สนับสนุน ส่งเสริมทีม สร้างบรรยากาศเป็นกันเอง มองโลกในแง่ดี สร้างแรงบันดาลใจ
คุณลักษณะทั่วไป
จุดเด่นและคุณค่าต่อองค์กร
จุดเด่นและคุณค่าต่อองค์กร
สิ่งที่ผู้อื่นอาจมองเชิงลบ
สิ่งที่สร้างแรงจูงใจ
สิ่งที่ลดทอนแรงจูงใจ
สไตล์ S เป็นคนที่มีลักษณะใจเย็น พากเพียรอุตสาหะ อดทน ให้ความร่วมมือช่วยเหลือ มุ่งสำเร็จพร้อมทีม เป็นผู้ร่วมทีมที่ดี ใส่ใจ รักษาสัมพันธภาพ ทำงานได้ดีกับผู้คนหลายรูปแบบ มีใจบริการ เต็มใจสนับสนุน อำนวยความสะดวก เป็นผู้ฟังที่ดี สื่อสารอย่างเป็นมิตร ยืดหยุ่น ปรับตามสถานการณ์และความเหมาะสม
คุณลักษณะทั่วไป
จุดเด่นและคุณค่าต่อองค์กร
สิ่งที่ผู้อื่นอาจมองเชิงลบ
สิ่งที่สร้างแรงจูงใจ
สิ่งที่ลดทอนแรงจูงใจ
สไตล์ C เป็นคนที่มีลักษณะช่างสังเกต ตรวจสอบรอบคอบ มีวินัย รับผิดชอบ รักษากฎระเบียบ สามารถวิเคราะห์และประเมินอย่างมีตรรกะ วางแผนงาน จัดระบบ ลงรายละเอียด มุ่งมั่นคุณภาพ มีมาตรฐานสูง ใส่ใจเรียนรู้ เพิ่มพูนทักษะความเชี่ยวชาญ สามารถทำงานอย่างเป็นอิสระ
คุณลักษณะทั่วไป
จุดเด่นและคุณค่าต่อองค์กร
สิ่งที่ผู้อื่นอาจมองเชิงลบ
สิ่งที่สร้างแรงจูงใจ
สิ่งที่ลดทอนแรงจูงใจ
สมาชิกเดิมเข้าสู่ระบบ โปรดกรอกข้อมูล..
กรุณากรอก Email ที่ท่านได้สมัครไว้ในระบบ