ช่างถ่ายภาพ
 
       ผู้ที่มีความชำนาญในการถ่ายภาพโดยใช้กล้อง อาจจัดได้ว่าเป็นศิลปิน เนื่องจากช่างภาพสามารถจัดวางองค์ประกอบที่จะปรากฏในรูปภาพก่อนลงมือถ่าย คล้ายกับวิธีของศิลปินวาดภาพทั่วไป แต่เป็นศิลปินที่วาดภาพด้วยแสง หรืออาจจะจัดเป็นเพียงแค่ช่างผู้มีความชำนาญเท่านั้น
 
ลักษณะงานที่ทำ
1. การเตรียมการถ่ายทำ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายภาพ  
2. จัดองค์ประกอบภาพ 
3. ถ่ายภาพ
4. ล้างฟิล์ม และล้างอัด ขยายภาพ ตัดต่อ
5. เก็บรักษาภาพและฟิล์ม และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
 
สภาพการจ้างงาน
       รายได้ไม่มีข้อกำหนดตายตัวที่แน่นอน ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถ ฝีมือ ความคิดสร้างสรรค์ในงานศิลปะการถ่ายภาพ ผู้ประกอบอาชีพนี่อาจจะตั้งร้านถ่ายภาพเป็นของตนเองก็ได้
 
สภาพการทำงาน
       ทำงานกับกล้องถ่ายรูปในการผลิตงาน โดยต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น เช่น ช่างไฟ นางแบบ ผู้ประกอบอาชีพนี้จะอยู่ในสตูดิโอหรืออาจต้องทำงานนอกสถานที่แล้วแต่ความต้องการของลูกค้า
 
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
มีใจรักในงานถ่ายภาพ และงานศิลปะ
มีความคิดสร้างสรรค์เป็นของตัวเอง
มีความสามารถในการใช้กล้องถ่ายภาพได้
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบทางศิลปะ
มีความอดทน ใจเย็นเข้ากับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
 
การเตรียมความพร้อมสู่อาชีพ
       ก่อนจะเข้าสู้วงการช่างภาพมืออาชีพ อุปกรณ์ถ่ายภาพแต่ละชิ้นที่นำมาถ่ายภาพค่อนข้างมีราคาที่สูงมาก จึงต้องมีเงินทุนที่จะใช้ซื้อกล้องถ่ายภาพ เลนส์ (Lens) อย่างน้อย 3 ตัวขึ้นไป ไฟแฟลช ไฟสตูดิโอต่างๆ อุปกรณ์ เล็กๆ น้อยๆ อีกมากมายกับราคาที่ค่อนข้างแพง
 
โอกาสในการมีงานทำ
       เป็นอาชีพที่เป็นที่ต้องการทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน หรือถ้ามีเงินทุนและความชำราญอาจจะเปิดร้านถ่ายรูปของตนเอง
 
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
       โอกาสและความก้าวหน้าขึ้นอยู่กับความสามารถและผลงานของผู้ประกอบอาชีพ
 
ตัวอย่างมหาวิทยาลัยและคณะ
1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะนิเทศศาสตร์
2. มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์
3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาศิลปะการถ่ายภาพ
4. มหาวิทยาลัยบูรพา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์
5. มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชานิเทศศาสตร์
6. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาการสื่อสาร สาขาวิชานิเทศศาสตร์
7. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คณะศิลปศาสตร์ สาขานิเทศศาสตร์
8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน สาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์
9. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ 
10. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์
11. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะนิเทศศาสตร์
12. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาลัยนานาชาติ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ 
13. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี คณะนิเทศศาสตร์ 
14. มหาวิทยาลัยเกริก คณะนิเทศศาสตร์ 
15. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์
16. มหาวิทยาลัยศรีปทุม คณะนิเทศศาสตร์ 
17. มหาวิทยาลัยสยาม คณะนิเทศศาสตร์ 
18. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะนิเทศศาสตร์
19. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ คณะนิเทศศาสตร์ 
20. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ คณะนิเทศศาสตร์
 
ที่มา: กองส่งเสริมการมีงานทำ