1. ที่ตั้ง
       เลขที่ 140 ถนนเชื่อมสัมพันธ์ แขวงกระทุ่มราย เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530 โทรศัพท์อัตโนมัติ 0-2988-3655, 0-2988-3666 สำนักประชาสัมพันธ์และบริการวิชาการ ต่อ 1105-1107 โทรสาร 0-2988-4031 Website : www.mut.ac.th
 
2. การจัดการศึกษา
       มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี 4 คณะ 16 สาขาวิชา ดังนี้
คณะวิศวกรรมศาสตร์ (www.eng.mut.ac.th)
       เปิดสอนหลักสูตรทางวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาตรี โท เอก สำหรับหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (ระดับปริญญาตรี) ใช้เวลาศึกษาปกติ 4 ปี โดยสาขาที่เปิดรับสมัครผ่านระบบกลาง (Admissions) มีดังนี้ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (มี 4 สาขาย่อยได้แก่ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมโทรคมนาคม วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง และวิศวกรรมระบบวัดคุม) สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์ สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัลหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารยุคดิจิทัล
              โดยแบ่งลำดับเนื้อหาหลักสูตรเป็น 3 ขั้น ดังนี้
              1. ขั้นพื้นฐาน ศึกษากลุ่มวิชาพื้นฐานทั่วไปโดยนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทุกคนจะต้องศึกษาวิชาพื้นฐานร่วมกัน แล้วจึงเลือก
              เรียนในสาขาวิชาที่สนใจในชั้นปีที่ 2
              2. ขั้นความรู้ทางวิชาชีพ ด้านวิศวกรรมศาสตร์และสาขาวิชาที่เลือกเรียนในชั้นปีที่ 2-3 และการฝึกงานในอุตสาหกรรม                  จริงในภาคการศึกษาฤดูร้อนชั้นปีที่ 3
              3. ขั้นความรู้ชั้นสูง ด้านวิศวกรรมศาสตร์และสาขาวิชาที่เลือกเรียนตลอดจนการทำโครงงานวิศวกรรมในชั้นปีที่ 4
 
คณะสัตวแพทยศาสตร์ (www.vet.mut.ac.th)
       โครงสร้างของหลักสูตร จำนวนหน่วยกิตรวม 247 หน่วยกิต ระยะเวลาการศึกษา 6 ปี โดยแบ่งการศึกษาตามกลุ่มวิชาเป็น 3 ขั้น ดังนี้
              1. ขั้นเตรียมสัตวแพทย์ (1 ปี) ศึกษาวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปและวิชาเลือกเสรี
              2. ขั้นพรีคลินิก (2 ปี) ศึกษาวิชาทางสัตวบาล พื้นฐานวิชาชีพ และวิชาชีพขั้นพรีคลินิก ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์พื้นฐานทางสัตวแพทย์ที่เป็นพื้นฐานของการศึกษาทางคลินิก
              3. ขั้นคลินิก (3 ปี) ศึกษาแบบบูรณาการเกี่ยวกับโรคสัตว์การวินิจฉัยการรักษาและการป้องกันโดยศึกษาทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติทางด้านอายุรกรรม ศัลยกรรมและสูติกรรม ใน 8 คลินิก ได้แก่ คลินิกสัตว์เคียวเอื้อง คลินิกม้า  คลินิกสุกร  คลินิกสัตว์ปีก คลินิกสัตว์เลี้ยงขนาดเล็ก คลินิกสัตว์ คลินิกสัตว์ป่า คลินิกสูติศาสตร์ ไกเน่วิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์สัตว์นอกจากนี้ยังมีรายวิชาทางด้านสัตวแพทย์สาธารณสุข กฎหมาย จรรยาบรรณและการใช้สัตว์ทดลองรวมถึงวิชาโครงการวิจัยด้วย
 
คณะวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (www.it.mut.ac.th)
       เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ใช้เวลาการศึกษา ปกติ 4 ปี ดังนี้ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน สาขาวิชาวิศวกรรมเครือข่ายและความมั่นคงปลอดภัยโดยแบ่งลำดับเนื้อหาหลักสูตรเป็น 3 ขั้น ดังนี้
              1. ขั้นพื้นฐาน ศึกษากลุ่มวิชาพื้นฐานทั่วไป ในชั้นปีที่ 1
              2. ขั้นความรู้ทางวิชาชีพ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสาขาวิชาที่เลือกเรียน ในชั้นปีที่ 2-3 และการฝึกงาน
              ในอุตสาหกรรมจริง ในภาคการศึกษาฤดูร้อน ชั้นปีที่ 3 
              3. ขั้นความรู้ชั้นสูง ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสาขาวิชาที่เลือกเรียน ตลอดจนการบริหารจัดการและการทำ
              โครงงานในชั้นปีที่ 4 
 
คณะบริหารธุรกิจ (www.mbs.mut.ac.th)
       เปิดสอนหลักสูตรบัญชีบัณฑิต ใช้เวลาการศึกษาปกติ 4 ปี
       เปิดสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ใช้เวลาการศึกษาปกติ 4 ปี โดยนักศึกษาจะเลือกเรียนในกลุ่มวิชาเอกในชั้นปีที่ 2 ประกอบด้วยกลุ่มวิชาเอก ดังนี้ การตลาด, การเงินและการธนาคาร, การจัดการ, การจัดการอุตสาหกรรม, นิเทศศาสตร์สารสนเทศ, การจัดการโลจิสติกส์
       เปิดสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ใช้เวลาการศึกษาปกติ 4 ปี
       โดยนักศึกษาทั้ง 3 หลักสูตรทุกคนต้องเรียนวิชาพื้นฐานทางธุรกิจร่วมกัน โดยการแบ่งลำดับเนื้อหาของหลักสูตรเป็นดังนี้ 
       1. ขั้นศึกษาความรู้พื้นฐาน การศึกษาในชั้นปีที่ 1 จะเป็นการศึกษากลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป และวิชาพื้นฐานทางธุรกิจเพื่อเป็นการเตรียมพื้นฐานของการศึกษารายวิชาในชั้นปีถัดไป
       2. ขั้นศึกษาความรู้ทางธุรกิจ สำหรับการศึกษาในชั้นปีที่ 2 จะเป็นการศึกษารายวิชาที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการดำเนินงานของธุรกิจเพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการทางธุรกิจชั้นสูงขึ้นไป 
       3. ขั้นศึกษาความรู้เฉพาะสาขาวิชา นักศึกษาจะเริ่มศึกษารายวิชาเฉพาะสาขาวิชาตั้งแต่ชั้นปีที่ 2 และจะมากขึ้นตามลำดับ ในช่วงชั้นปีที่ 3 และ 4 โดยจะมีการประยุกต์ความรู้เพื่อนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ นอกจากนี้ในภาคการศึกษาฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3 นักศึกษาจะมีโอกาสในการฝึกงานในภาคธุรกิจเพื่อเป็นการศึกษาและฝึกฝนการปฏิบัติงานด้านธุรกิจ
 
ที่มา: สมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย