1. ที่ตั้ง
       มหาวิทยาลัยพะเยาสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 19 หมู่ 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000 โทรศัพท์ 0 5446 6666 โทรสาร 0 54466 694 เว็บไซต์ www.up.ac.th มีเนื้อที่ประมาณ 5,700 ไร่
 
2. การจัดการศึกษา
       มหาวิทยาลัยพะเยา เปิดสอนระดับปริญญาตรีในคณะ/หลักสูตร/สาขาวิชา ดังนี้ 
คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ
       เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) ใช้เวลาศึกษา 4ปี ใน 6 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการประมง สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาความปลอดภัยทางอาหาร สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และสาขาวิชาสัตวศาสตร์ 
 
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
       เปิดสอนหลักสูตร/สาขาวิชา ดังนี้
       1. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) ใช้เวลาศึกษา 4ปี คือ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
       2. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) ใช้เวลาศึกษา 4ปี ใน 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเทคโนโลยี สาขาวิชาภูมิสารสนเทศศาสตร์ และสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
       3. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) ใช้เวลาศึกษา 4ปี ใน 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และ สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
       4. หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.) ใช้เวลาศึกษา 4ปี คือ สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กราฟิกและมัลติมีเดีย
       5. การจัดการเรียนการสอน ระดับปริญญาตรีคู่ขนาน 2 ปริญญา ใช้เวลาศึกษา 5 ปี ได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
 
คณะนิติศาสตร์
       เปิดสอนหลักสูตร/สาขาวิชา ดังนี้
       1. หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) ใช้เวลาศึกษา 4 ปี
       2. การจัดการเรียนการสอน ระดับปริญญาตรีคู่ขนาน 2 ปริญญา ใช้เวลาศึกษา 5 ปี ได้แก่
              1) หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) และหลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ)
              2) หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
              3) หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต(ศศ.บ.) สาขาวิชาภาษาอังกฤษ 
 
คณะพยาบาลศาสตร์
       เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต(พย.บ.)ใช้เวลาศึกษา 4 ปี
 
คณะแพทยศาสตร์
       เปิดสอนหลักสูตร/สาขาวิชา ดังนี้
       1. หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต (พทป.บ.) ใช้เวลาศึกษา 4ปี
       2. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) ใช้เวลาศึกษา 4 ปี ใน 5 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ สาขาวิชาปฏิบัติการ ฉุกเฉินการแพทย์สาขาวิชาอนามัยชุมชนสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมและสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
       3. การจัดการเรียนการสอน ระดับปริญญาตรีคู่ขนาน 2 ปริญญา ใช้เวลาศึกษา 5 ปี ได้แก่
              1) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ และ,หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.)
              2) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาอนามัยชุมชน และหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)
              3) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม และหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)
              4) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาอนามัยชุมชน และ,หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.)
              5) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมและ,หลักสูตรเศรษศาสตรบัณฑิต(ศ.บ.)
              6) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.) 
 
คณะเภสัชศาสตร์
       เปิดสอนหลักสูตร/สาขาวิชา ดังนี้
       1. หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (ภ.บ.) ใช้เวลาศึกษา 6 ปี คือ สาขาวิชาบริบาลเภสัชกรรม
       2. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) ใช้เวลาศึกษา 4 ปี คือ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำาอาง 
 
คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์
       เปิดสอนหลักสูตร/สาขาวิชา ดังนี้
       1. หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.) ใช้เวลาศึกษา 4ปี
       2. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต(ศศ.บ.) ใช้เวลาศึกษา 4ปี คือสาขาวิชาพัฒนาสังคม 
 
คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์
       เปิดสอนหลักสูตร/สาขาวิชา ดังนี้
       1. หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.) ใช้เวลาศึกษา 4ปี ใน 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารและสาขาวิชาการสื่อสารสื่อใหม่
       2. หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.) ใช้เวลาศึกษา 4 ปี
       3. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) ใช้เวลาศึกษา 4 ปี ใน 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ และสาขาวิชาการตลาด
       4. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) ใช้เวลาศึกษา 4ปี คือ สาขาวิชาการท่องเที่ยว
       5. หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.) ใช้เวลาศึกษา 4 ปี
 
คณะวิทยาศาสตร์
       เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) ใช้เวลาศึกษา 4 ปี ใน 7 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาเคมี สาขาวิชาชีววิทยา สาขาวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา สาขาวิชาสถิติ และสาขาวิชาอุตสาหกรรมเคมีและเทคโนโลยีวัสดุ
 
คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
       เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) ใช้เวลาศึกษา 4 ปี ใน 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาจุลชีววิทยา สาขาวิชาชีวเคมี และสาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร
 
คณะวิศวกรรมศาสตร์
       เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) ใช้เวลาศึกษา 4 ปี ใน 4 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา และสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ 
 
คณะศิลปศาสตร์
       เปิดสอนหลักสูตร/สาขาวิชา ดังนี้
       1. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) ใช้เวลาศึกษา 4 ปี ใน 5 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาภาษาจีน สาขาวิชาภาษาญี่ป่น สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส และสาขาวิชาภาษาอังกฤษ
       2. การจัดการเรียนการสอน ระดับปริญญาตรีคู่ขนาน 2 ปริญญา ใช้เวลาศึกษา 5 ปี คือ
              1) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวิชาภาษาจีน และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
              2) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
 
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์
       เปิดสอนหลักสูตร/สาขาวิชาดังนี้
       1. หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต (ดศ.บ.) ใช้เวลาศึกษา 4 ปี คือ สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์สากล
       2. หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.) ใช้เวลาศึกษา 4 ปี ใน 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ และสาขาวิชาศิลปะการแสดง
       3. หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) ใช้เวลาศึกษา 5 ปี ใน 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ภายใน 
 
คณะสหเวชศาสตร์
       เปิดสอนหลักสูตร/สาขาวิชา ดังนี้
       1. หลักสูตรกายภาพบำบัดบัณฑิต (กภ.บ.) ใช้เวลาศึกษา 4 ปี
       2. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) ใช้เวลาศึกษา 4 ปี คือ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ 
 
วิทยาลัยการศึกษา
       การจัดการเรียนการสอน ระดับปริญญาตรีคู่ขนาน 2 ปริญญา ใช้เวลาศึกษา 5 ปี ได้แก่
       1. หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) สาขาวิชาการศึกษาและหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาคณิตศาสตร์
       2. หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) สาขาวิชาการศึกษา และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาเคมี
       3. หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) สาขาวิชาการศึกษา และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาชีววิทยา
       4. หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) สาขาวิชาการศึกษา และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาฟิสิกส์
       5. หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) สาขาวิชาการศึกษา และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการกีฬา
       6. หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) สาขาวิชาการศึกษา และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวิชาภาษาไทย
       7. หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) สาขาวิชาการศึกษา และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขาวิชาภาษาอังกฤษ 
 
วิทยาลัยพลังงานและสิ่งแวดล้อม
       เปิดสอนหลักสูตร/สาขาวิชา ดังนี้
       1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) ใช้เวลาศึกษา 4 ปี คือ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
       2. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) ใช้เวลาศึกษา 4ปี คือ สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
       3. การจัดการเรียนการสอน ระดับปริญญาตรีควบปริญญาโท ใช้เวลาศึกษา 5 ปี ได้แก่
              1) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาเคมี และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
              2) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาชีววิทยา และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
              3) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาจุลชีววิทยา และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
 
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่งานรับเข้าศึกษากองการศึกษา
โทรศัพท์ 0-5446-6666 ต่อ 1270, 1271, 1272, 1273 โทรสาร 0-5446-6694
 
ที่มา: สมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย