มหาวิทยาลัยศิลปากร
1. ที่ตั้ง
ปัจจุบันมีสถานศึกษา 3 วิทยาเขต คือ
1. วังท่าพระ ตั้งอยู่ที่วังท่าพระ ถนนหน้าพระลาน เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 จัดการเรียนการสอน 4 คณะ วิชาคือ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะโบราณคดี และคณะมัณฑนศิลป์
บัณฑิตวิทยาลัย คณะดุริยางคศาสตร์ และวิทยาลัยนานาชาติ ตั้งอยู่สำนักงานอธิการบดี ตลิ่งชัน เลขที่ 22 ถนนบรมราชชนนี ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170
2. พระราชวังสนามจันทร์ ตั้งอยู่ในเขตพระราชวังสนามจันทร์ ถนนราชมรรคาใน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000 จัดการเรียนการสอน 5 คณะวิชา คือ คณะอักษรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
3. วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 3 ถนนชะอำ-ปราณบุรี ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120 จัดการเรียนการสอน 3 คณะวิชา คือ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาการจัดการ และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
2. การจัดการศึกษา
มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดสอนระดับปริญญาตรี ในคณะ/ประเภทวิชา ดังต่อไปนี้
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
เปิดสอนหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต เป็นหลักสูตร 5 ปี จำนวน 2 สาขา คือ สาขาวิชา สถาปัตยกรรม และสาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย
คณะโบราณคดี
เปิดสอนหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต เป็นหลักสูตรการศึกษา 4 ปี นักศึกษามีสิทธิเลือกวิชาเอก-โท ดังนี้
วิชาเอก โบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ มานุษยวิทยา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศสและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
วิชาโท โบราณคดี ประวิติศาสตร์ศิลปะ มานุษยวิทยา ภาษาไทย ภาษาตะวันออก ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ประวัติศาสตร์ ท้องถิ่น พิพิธภัณฑสถานศึกษา ภาษาฮินดี ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร
คณะอักษรศาสตร์
เปิดสอนหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิตเป็นหลักสูตรการศึกษา 4 ปี นักศึกษามีสิทธิเลือกวิชาเอก-โท ดังนี้
วิชาเอก 14 สาขาวิชา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาเกาหลี ภาษาจีน ภาษาญี่ป่น ปรัชญา ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การแสดงศึกษา สังคีตศิลป์ไทยสังคมศาสตร์การพัฒนา สารสนเทศศาสตร์ และ บรรณารักษศาสตร์ หมายเหตุ เฉพาะวิชาเอกภาษาอังกฤษ รับจำนวนไม่เกิน 50 คน
วิชาโท 19 สาขาวิชา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาเกาหลี ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาอาหรับ ปรัชญา ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การแสดงศึกษา สังคีตศิลป์ไทย ทัศนศิลป์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยาและ มานุษยวิทยา บรรณารักษศาสตร์ การจัดการสารสนเทศ
คณะศึกษาศาสตร์
เปิดสอนหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต เป็นหลักสูตรการศึกษา 5 ปี จำนวน 6 สาขาวิชา ในสาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาภาษาอังกฤษ สาขาวิชาสังคมศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย สาขาวิชาการประถมศึกษา และสาขาวิชาการสอนภาษาจีน ในฐานะภาษาต่างประเทศ หลักสูตรการศึกษา 4 ปี จำนวน 2 สาขาวิชา ในสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา และสาขาวิชาการศึกษา ตลอดชีวิต หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต เป็นหลักสูตรการศึกษา 4 ปี ในสาขาวิชาจิตวิทยา และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต เป็นหลักสูตรการศึกษา 4ปี ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
คณะวิทยาศาสตร์
เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต เป็นหลักสูตรการศึกษา 4 ปี ใน 10 สาขาวิชาเอกคือ คณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ สถิติ วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม จุลชีววิทยา คณิตศาสตร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะวิทยาศาสตร์จะดำเนินการจัดนักศึกษาเข้าสาขาวิชาเอก โดยให้ผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์กรอกแบบแสดงความจำนง เลือกสาขาวิชาเอกในวันสอบสัมภาษณ์สำหรับนักศึกษาที่ประสงค์จะเปลี่ยนสาขาวิชาเอก จะต้องลงทะเบียนเรียนในสาขาวิชาเอก ที่ตนสังกัดอยู่ต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 2 ภาคการศึกษาปกติ สามารถยื่นคำร้องขอเปลี่ยนสาขาวิชาเอกก่อนเปิดภาคการศึกษา ไม่น้อยกว่า 10 วันและคณะฯ จะประกาศผลการพิจารณาให้ทราบภายใน 14 วัน นับจากวันเปิดภาคการศึกษาผลการพิจารณาเป็นไปตามระเบียบคณะวิทยาศาสตร์ ว่าด้วยการขอเปลี่ยนสาขาวิชาเอก
คณะเภสัชศาสตร์
เปิดสอนหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต เป็นหลักสูตรการศึกษา 6 ปี สาขาเภสัชศาสตร์ มีวิธีการรับเข้าศึกษา สองส่วน คือ 1. สอบตรงโดยคณะวิชา Direct Admissions จำนวน 5 โครงการ คือ 1) โควตาพิเศษ 2) รับตรง 3) เภสัชเพิ่มพิเศษ 4) ร้านยาคุณภาพ และ 5) ผู้สำเร็จปริญญาตรีสาขาอื่นเพื่อรับปริญญาอีกสาขาหนึ่ง ผู้สนใจดูรายละเอียดได้ที่ www.pharm.su.ac.th รอบที่ 1 รับสมัครเดือนกันยายน รอบที่ 2 รับสมัครเดือนมีนาคม ทุกปี 2. Admissions กลาง การจัดการเรียนการสอนที่พระราชวัง สนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม โทรศัพท์ 034-255800 โทรสาร 034-255801
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตเป็นหลักสูตรการศึกษา 4 ปี จำนวน 8 สาขาวิชาได้แก่สาขาวิชาปิโตรเคมีและ วัสดุพอลิเมอร์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี สาขาวิชาวิศวกรรม อิเล็กทรอนิกส์และระบบคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์ สาขาวิชาวัสดุขั้นสูงและนาโนเทคโนโลยี และสาขาวิชาวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ
เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต เป็นหลักสูตรการศึกษา 4 ปี จำนวน 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร และสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
เปิดสอนหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต เป็นหลักสูตรการศึกษา 4 ปี จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาธุรกิจวิศวกรรม ผู้ที่เลือกคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นอันดับ 1 มีสิทธิ์ได้รับทุนการศึกษา ดังนี้
- ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกในสาขาวิชาปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์และสาขาวิชาวัสดุขั้นสูงและนาโนเทคโนโลยีโดยมีคะแนน สอบตั้งแต่ 80 เปอร์เซ็นต์ขนไป (GPAX + 0-NET + GAT + PAT2 + PAT3) จะได้รับทุนการศึกษาสำหรับปีการศึกษาแรก จำนวน 30,000 บาท และหากผู้ได้รับทุนการศึกษาสามารถศึกษาโดยได้รับค่าเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไปในทุกปีการศึกษาต่อเนื่องกัน จะได้รับทุนการศึกษาดังกล่าวตลอด 4ปีการศึกษา
- ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกในสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร โดยมีคะแนนสอบรวมสูงสูด 2 ลำดับแรก จะได้รับทุนการศึกษาสำหรับปีการศึกษาแรก จำนวน 38,000 บาท โดยแบ่งจ่ายในภาคการศึกษาต้น จำนวน 19,000 บาท และภาคการศึกษาปลายจำนวน 19,000 บาท และหากผู้ได้รับทุนการศึกษาสามารถศึกษาโดยได้รับค่าเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไปในทุกปีการศึกษาต่อเนื่องกัน จะได้รับทุนการศึกษาดังกล่าวตลอด 4ปีการศึกษา
- ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ โดยมีคะแนนสอบตั้งแต่ 75 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป (GPAX+0-NET + GAT + PAT 1 + PAT2) จะได้รับทุนการศึกษาสำหรับปีการศึกษาแรกจำนวน 10,000บาท และหากผู้ได้รับทุนการศึกษาสามารถ ศึกษาโดยได้รับค่าเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไปในทุกปีการศึกษาต่อเนื่องกัน จะได้รับทุนการศึกษาดังกล่าวตลอด 4ปีการศึกษา
- ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกในสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์ สาขาวิชา วิศวกรรมเคมี และสาขาวิชาวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ โดยมีคะแนนสอบตั้งแต่ 75 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป (GPAX+ 0-NET + GAT + PAT 2 + PAT 3) จะได้รับทุนการศึกษาสำหรับปีการศึกษาแรก จำนวน 10,000 บาท และหากผู้ได้รับทุนการศึกษาสามารถศึกษา โดยได้รับค่าเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไปในทุกปีการศึกษาต่อเนื่องกัน จะได้รับทุนการศึกษาดังกล่าวตลอด 4ปีการศึกษา
คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
จัดการเรียนการสอน ณ วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี หมายเลขโทรศัพท์และ โทรสาร 0-3259-4038 เปิดหลักสูตรการศึกษา 4 ปีใน 4 สาขาวิชาเอก ได้แก่
1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร
2. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์นํ้า
3. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
4. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาธุรกิจการเกษตร
คณะวิทยาการจัดการ
จัดการเรียนการสอนที่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี หมายเลขโทรศัพท์ 0-3259-4028, 0-3259-4043-50 ต่อ 41045,41046 และ 41049 เปิดสอนหลักสูตรการศึกษา 4 ปี ดังนี้
1. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต ได้แก่ สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว และสาขาวิชาการจัดการชุมชน
2. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ได้แก่ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาการจัดการโรงแรม และสาขาวิชาการจัดการธุรกิจและภาษาอังกฤษ
3. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ได้แก่ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดสอน 3 หลักสูตร ได้แก่
1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ
2. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบ มี 3 วิชาเอก ได้แก่ วิชาเอกการออกแบบแอนิเมชัน วิชาเอกการออกแบบเว็บและสื่อโต้ตอบ และวิชาเอกการออกแบบเกม
สำหรับจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ และสาขาวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบ จะจัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ในชั้นปีที่ 1-3 และที่ส่วนต่อขยายการศึกษา City Campus เมืองทองธานี ในชั้นปีที่ 4
3. หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มี 3 กลุ่มวิชา ได้แก่ กลุ่มวิชาการสื่อสารเชิงธุรกิจ กลุ่มวิชา การสื่อสารมวลชน และกลุ่มวิชาภาพยนตร์
สำหรับจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ จะจัดการเรียนการสอนที่ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ในชั้นปีที่ 1-2 และที่ส่วนต่อขยายการศึกษา City Campus เมืองทองธานี ในชั้นปีที่ 3 - 4
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร http://www.su.ac.th หรือ reg.su.ac.th
ที่มา: สมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย